สมาคมพ่อค้าข้าวโพดและพืชพันธุ์ไทย  THE THAI MAIZE AND PRODUCE TRADERS ASSOCIATION  :  ส่งเสริมการประกอบกิจการค้าข้าวโพด ข้าวฟ่าง พืชพันธุ์ไทยและสินค้าพื้นเมืองทุกชนิด

ประวัติสมาคมพ่อค้าข้าวโพดและพืชพันธุ์ไทย 

ประวัติและความเป็นมา 

         นับแต่ปี พ.ศ. 2499 เป็นปีที่สมาคมฯ ได้เริ่มดำเนินการก่อตั้งและได้รับอนุญาตเป็นทางการในปีถัดมา จากปีที่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันนี้เป็นระยะเวลาร่วม 60 ปี หรือเกือบ 6 ทศวรรษ มองย้อนหลังกลับไปก่อนปี พ.ศ. 2499 

วงการค้าผู้ส่งออกยังทำการค้าแบบต่างคนต่างค้า จึงทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคมากมาย ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2499 มีผู้ส่งออกจำนวน 29 ราย ได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง “สมาคมพืชผลขาออก” ได้จัดให้มีการประชุมขึ้นที่ภัตตาคารท่งเทียน ถนนเยาวราช อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร ผลการประชุมได้เลือกตั้งกรรมการผู้เริ่มก่อการขึ้นหนึ่งชุด โดยมี นายสุวรรณ วีระผล ผู้แทนบริษัท วีระผล จำกัด เป็นประธานและเป็นผู้ดำเนินงานจดทะเบียนสมาคมและให้ตราชื่อสมาคมขึ้น เรียกว่า “สมาคมผู้ส่งพืชพันธุ์ไทยออกนอก”

        ในขณะนั้นสมาคมฯยังไม่มีสถานที่แน่นอน เพียงแต่ตั้งสำนักงานชั่วคราวไว้ในบริษัท เลียงเซ้งแอนด์โก จำกัด ในขณะที่การก่อตั้งสมาคมฯ กำลังดำเนินการขออนุญาตในปี พ.ศ. 2500 อยู่นั้น ชุมนุมขนส่งทางน้ำได้ส่งเสริมให้กรรมกรมีส่วนได้รับเงินปันผลจากเจ้าของ กิจการเรือฉลอม แต่ไม่ได้รับความสำเร็จ จึงเกิดมีการนัดหยุดงานขึ้น ซึ่งทำให้กิจการส่งออกต้องหยุดชะงัก ผลกระทบตกหนักอยู่กับพ่อค้าส่งออกทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง คณะกรรมการผู้เริ่มก่อตั้ง จึงได้เร่งรัดการดำเนินงานขึ้น มีการประชุมด่วนเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2500 ที่ประชุมได้ตัดสินใจเช่าสถานที่จัดตั้งเป็นสำนักงานสมาคมฯ ขึ้น ณ ตึกเลขที่ 174 ตรอกกะทะ ถนนทรงวาด  ตำบลจักรวรรดิ์ อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร 

        ต่อมาปี พ.ศ. 2501 ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สมาคมฯ ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ให้ก่อตั้งสมาคมฯ ในรูปถาวรได้ จึงเรียนเชิญ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นผู้อุปถัมภ์สมาคมฯ และทำพิธีเปิดป้ายสมาคมฯ 

       ในปี พ.ศ. 2509 สมาคมฯ ได้มีการแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับตามมติที่ประชุมใหญ่ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2509 ให้เปลี่ยนชื่อสมาคมฯ ใหม่โดยให้ชื่อว่า “สมาคมพ่อค้าข้าวโพดและพืชพันธุ์ไทย” หรือ “THE THAI MAIZE AND PRODUCE TRADERS ASSOCIATION” โดยที่ประชุมแต่งตั้งให้นายชิน ชูตระกูล นายกสมาคมฯ ประธานกรรมการควบคุมเป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียน ที่กรมการค้าภายใน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2509  และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสมาคมฯ ตามใบอนุญาตสมาคมการค้า เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 

2509 

       ปี พ.ศ. 2512 นายกำจาย เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมฯ ในขณะนั้น ได้มองหาสถานที่ใหม่เนื่องจากที่ตั้งของสมาคมฯ เดิม  ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย ไม่สะดวกกับการติดต่อ ที่ประชุมจึงได้มีมติให้ย้ายที่ทำงานของสมาคมฯ มาอยู่ ณ เลขที่ 52/17-18 อาคารไทยลายทอง ถนนสุรวงศ์  อำเภอบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยเช่าจากสภาการชาดไทย เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2513 

 

       ต่อมาปี พ.ศ. 2531 ปริมาณงานของสมาคมฯ ประสานงานกับ ทางราชการ สมาชิกของสมาคมฯ และภาคเอกชนอื่น ๆ จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 42 รายในระยะเริ่มแรกจนถึงปี 2526 มีสมาชิกสามัญสูงถึง 414 ราย รวมทั้งจำนวนพนักงานของสมาคมฯ ก็ได้เพิ่มขึ้นด้วย ทางคณะกรรมการ  โดยมีคุณกำจาย เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมฯ มีความเห็นว่า กิจการของสมาคมฯ ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ สมาคมฯ สมควรที่จะมีสำนักงานเป็นกรรมสิทธิ์แทนการเช่า ที่ประชุมจึงได้มีมติให้จัดซื้ออาคารชุดสาธรธานี (อาคาร 2) ชั้น 11 เลขที่ 92/26-27 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นสำนักงาน    และได้ย้ายเข้ามาเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2531 ต่อมาคณะกรรมการได้ประกอบพิธีเปิดสำนักงานแห่งใหม่นี้ (ปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2531โดยมี ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดร.สุบิน ปิ่นขยัน เป็นประธานในพิธี

 

 

นโยบายการส่งออกข้าวโพดของไทย

 

  • การส่งออก

ก่อนหน้าปี พ.ศ. ๒๕๐๔/๒๕๐๕ การค้าข้าวโพดไทยเป็นไปอย่างเสรี แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔/๒๕๐๕ รัฐบาลได้เข้ามาควบคุมอย่างใกล้ชิด โดยได้ออกพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๐๔ มาตรา ๓ ห้ามมิให้ส่งข้าวโพดออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ (กระทรวงพาณิชย์) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๐๔ เป็นต้นไป กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแลให้การส่งออกเป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว และได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาในการอนุญาตให้ส่งออกไปต่างประเทศ จึงได้กำหนดระเบียบหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการส่งออก เช่น กำหนดการค้ำประกันการส่งออก การกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำ การกำหนดปริมาณส่งออกและการจัดสรร ตลอดจนการกำหนดให้ประเทศใดเป็นตลาดข้อตกลงซึ่งผู้ที่จะส่งออกข้าวโพดไปประเทศดังกล่าว ต่อมาสถานการณ์ข้าวโพดภายในประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปและเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่จะให้การค้าเป็นไปโดยเสรีมากยิ่งขึ้น กรมการค้าต่างประเทศโดยความเห็นชอบของกระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับปรุงระเบียบวิธีปฏิบัติในการอนุญาตให้ส่งออกข้าวโพดมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ในปี ๒๕๓๔/๒๕๓๕ จึงกำหนดให้การส่งออกข้าวโพดเป็นไปโดยเสรี ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๖๑) พ.ศ. ๒๕๓๕ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕  ดังนั้น นโยบายและมาตรการทางการค้าและภาษีการส่งออกที่ใช้ในปัจจุบันคือ  l มาตรการทางการค้าเสรี ส่งออกได้ไม่จำกัดปริมาณและไม่ต้องขออนุญาต  l มาตรการทางภาษี ไม่มีภาระด้านภาษีขาออก 

 

  • การนำเข้า

เนื่องจากการผลิตและการตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ไปต่างประเทศ ประสบความสำเร็จสามารถขยายตลาดส่งออกได้รวดเร็วมาก ความต้องการวัตถุดิบจำพวกธัญพืชเป็นจำนวนมาก รวมทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความจำเป็นต่อการผลิตอาหารสัตว์ปีก ทำให้ผลผลิตที่ผลิตได้ในประเทศเกิดความตึงตัวบางช่วงมีปัญหาขาดแคลน ดังนั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ประเทศไทยต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นครั้งแรกจำนวนมากถึงกว่า ๔๔๕,๐๐๐ ตัน เป็นการนำเข้าเพื่อสนองความต้องการให้เพียงพอใช้ในประเทศตามสถานการณ์การผลิตและการค้า

  

การประชุม การเจรจาการค้ากับต่างประเทศ

 หลังจากปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ต่อมาการค้าข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ มีความเจริญขึ้นมาก มีการติดต่อซื้อขายกับต่างประเทศได้มีการเจรจา ทำสัญญา ซื้อขายหลายประเทศ ดังนั้นจึงได้มีการเจรจากันโดยฝ่ายไทยเดินทางไปทำสัญญากับต่างประเทศและสลับกับผู้ซื้อจากต่างประเทศที่ได้เดินทางมาทำสัญญากับฝ่ายไทย ดังนั้นสมาคมฯ ได้มีการต้อนรับคณะผู้แทนการค้าต่าง ๆ จากต่างประเทศมากมาย จึงขอยกประเด็นสำคัญ ๆ พอสังเขปได้ดังนี้ คือ

 

  • การต้อนรับคณะผู้แทนการค้าจากต่างประเทศ

 สมาคมฯ ได้ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจากต่างประเทศ มีดังนี้

 

  • คณะผู้แทนบรรษัทซีรอยฟูดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มี Mr.Yuan Xiang Zhong รองผู้จัดการฝ่ายนำเข้า  เป็นหัวหน้าคณะเดินทางมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๒-๒๐ สิงหาคม ๒๕๒๖ เพื่อเจรจาซื้อถั่วเขียวผิวมัน และระหว่างวันที่ ๒๗ กันยายน – ๕ ตุลาคม ๒๕๒๘ Mr.LIGUO FENG มาทำสัญญาซื้อขายถั่วเขียวผิวมันและเจรจาซื้อขายผลผลิตทางเกษตรอื่น ๆ
  • คณะผู้แทนการค้าถั่วเขียวผิวดำจากสมาคมผู้นำเข้าถั่วที่ใช้เพาะถั่วงอกแห่งประเทศญี่ปุ่น มี Mr.T.Ota แห่ง Taishin Co.Ltd., นายกสมาคมฯ เป็นหัวหน้าคณะซึ่งเดินทางมาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ ๒๕-๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๖, ๑๔-๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๗, ๔-๕ กันยายน ๒๕๒๗ และ ๒๖-๒๘ มิถุนายน ๒๕๒๘ เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาการค้าถั่วเขียวผิวดำของไทยและประชุมวิชาการการพัฒนาถั่วเขียวผิวดำโดยกรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับสมาคมฯ ระหว่างวันที่ ๑๘-๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๐
  • คณะผู้แทนการค้าสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน มี Dr.M.Mo-Vahedizadeh กรรมการผู้จัดการบรรษัทการค้าของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน เป็นหัวหน้าคณะเดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการค้าข้าวโพด เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๒๖
  • คณะผู้แทนการค้าแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) มี Mr.Lee Chong Min รองประธาน National Livestock Cooperatives Federation (NLCF) เป็นหัวหน้าคณะเดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อศึกษาหาข้อมูลและปรึกษาหารือเกี่ยวกับการค้าข้าวโพด เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๒๖
  • คณะผู้แทนไต้หวันมี Mr.T.Y.LIU ผู้อำนวยการสำนักงานอาหาร กระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้าคณะมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๔-๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๗ เพื่อสำรวจและศึกษาคุณภาพข้าวโพดไทย
  • คณะผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมเพาะถั่วงอกประเทศญี่ปุ่น มี Mr.N.HAZE เป็นหัวหน้าคณะมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ กันยายน ๒๕๒๗ เพื่อปรึกษาหารือกับคณะผู้แทนสมาคมฯ เกี่ยวกับคุณภาพถั่วเขียวผิวดำของไทย
  • คณะผู้แทนสมาคมการค้าอาหารสัตว์แห่งญี่ปุ่น (Japan Feed Trade Association : JFTA) มี Mr.YOSHIKI เป็นหัวหน้าคณะมาเยือนไทย เพื่อเจรจาการค้าข้าวโพดกับผู้ส่งออกฝ่ายไทย ระหว่างวันที่ ๖-๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
  • คณะผู้แทนสมาคมอาหารสัตว์เกาหลี (Korean Feed Association : KFA) จากสาธารณรัฐเกาหลี มี Mr.CHUN EUNG-JIN รองประธานบริหารสมาคม เป็นหัวหน้าคณะมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ เพื่อดูการผลิตและการตลาดข้าวโพดและมันสำปะหลังอัดเม็ดในประเทศไทย และมาศึกษาวิธีการปรับปรุงคุณภาพข้าวโพดไทยโดยเฉพาะแก้ไขปัญหาแอฟลาทอกซิน และกิจการไซโล ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
  • คณะผู้แทนสมาคมผู้นำเข้าถั่วที่ใช้เพาะถั่วงอกประเทศญี่ปุ่น (The Japan Sprouting Importers Association : JSBIA) มาเยือนระหว่างวันที่ ๒๖-๒๘ มิถุนายน ๒๕๒๘, ๑๖-๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๔, ๑๘-๒๕ มีนาคม ๒๕๓๕ เพื่อปรึกษาหารือกับสมาคมฯ เกี่ยวกับคุณภาพถั่วเขียวผิวดำของไทย
  • สมาคมอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดเกาหลี (Korea Corn Processing Industry Association : KOCPIA) มีผู้แทนจำนวน ๗ ท่าน โดยมี Mr.PARK SEONG MOON ประธาน KOCPIA เป็นหัวหน้าคณะเดินทางมาระหว่างวันที่ ๑๗-๒๓ มกราคม ๒๕๒๙ เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการค้าข้าวโพด หลังจากนั้นมามีข้าวโพดส่งออกไปสาธารณรัฐเกาหลีถึง ๔๕๕,๙๑๑ เมตริกตัน
  • คณะผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์และสุราประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมี Mr.SUL SUNG SOO เป็นหัวหน้าคณะมาเยือนไทยเพื่อประชุมหารือเกี่ยวกับการค้าข้าวโพด เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๐
  • ผู้แทนของสภาหอการค้าชิคาโก (Chicago Board of Trade) นายเดนนิส  คอลลิน กรรมการผู้จัดการแผนกบริการการศึกษาและการตลาด และน.ส.ริซา  ออสติน ผู้จัดการแผนก ได้มาหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งตลาดซึ่งขายสินค้าล่วงหน้าในประเทศไทย โดยมีนายธีระ  ศรีจิรารัตน์ อุปนายกสมาคมฯ ให้การต้อนรับเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๔
  • การเดินทางไปประชุมการเจรจาการค้ากับต่างประเทศ
    • สมาคมฯ ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ระดับรัฐมนตรีและระดับเอกชน ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ ณ กรุงโซล โดยนายสมาน  โอภาสวงศ์ นายกสมาคมฯ ประชุมระดับรัฐมนตรีและนายธีระ ศรีจิรารัตน์ เลขาธิการฯ ประชุมระดับเอกชน
    • สมาคมฯ ร่วมกับคณะของ ฯพณฯ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๓ มิถุนายน ๒๕๒๘ เพื่อเจรจากับคณะสมาคมอาหารสัตว์เกาหลีและสหพันธ์สหกรณ์ปศุสัตว์แห่งชาติ (National Livestock Cooperative Federation : NLCF) ผลการเจรจาต่อมาสาธารณรัฐเกาหลีได้ซื้อข้าวโพดไทยโดยวิธีประมูล ๒๕๐,๐๐๐ เมตริกตัน และหลังจากนั้นมาข้าวโพดส่งออกไปสาธารณรัฐเกาหลีถึงเดือนธันวาคมรวม ๖ เดือน ได้ส่งออกถึง ๒๕๕,๙๑๑ เมตริกตัน
    • สมาคมฯ โดยนายกำจาย  เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมฯ และนายภูมิศักดิ์  เพิ่มพูนทรัพย์ กรรมการสมาคมฯ ได้ร่วมเดินทางกับคณะ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) เพื่อขยายตลาดการค้า ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๐

 

ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ

 

  • สมาคมฯ ได้ร่วมพิจารณาร่างมาตรฐานสินค้าบางชนิดของ Codex ซึ่งเป็นโครงการมาตรฐานอาหารของ FAO/WHO (ปี พ.ศ. ๒๕๒๘)
  • ให้การสนับสนุนการประชุมวิชาการข้าวโพด ข้าวฟ่างแห่งชาติของกรมวิชาการเกษตร เพื่อแถลงผลงานวิจัยและเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการต่าง ๆ เกี่ยวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง มีดังนี้
    • ประชุมระหว่างวันที่ ๑๘-๒๒ เมษายน ๒๕๒๖ ณ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น จำนวนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
    • ประชุมระหว่างวันที่ ๒๒-๒๖ เมษายน ๒๕๒๘ ณ โรงแรมเพิร์ล จังหวัดภูเก็ต จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท
    • ประชุมระหว่างวันที่ ๔-๘ พฤษภาคม ๒๕๓๐ ณ โรงแรมเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท
    • ให้การสนับสนุนการประชุมสัมมนาเรื่องถั่วเขียวผิวดำของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้ความรู้ทางวิชาการ การพัฒนาถั่วเขียวผิวดำให้ดีขึ้น ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๖ ณ โรงแรมชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร จำนวนเงิน ๔๙,๐๐๐ บาท
    • กรมวิชาการเกษตรได้ส่งข้าราชการจำนวน ๒ ท่าน ไปดูงานเกี่ยวกับเชื้อรา Macrophomina Phaseoli สหรัฐอเมริกา และเห็นว่าในช่วงเดินทางกลับควรให้ข้าราชการนี้แวะดูงานการเพาะถั่วงอกและการตรวจวิเคราะห์เชื้อราในถั่วเขียวผิวดำที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย เนื่องจากทางกรมฯ ไม่ได้เตรียมงบประมาณเพื่อการนี้ไว้จึงของบจากสมาคมฯ และสมาคมฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าการไปดูงานเพาะถั่วงอกและเชื้อราจะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเชื้อราในถั่วเขียวผิวดำของไทยซึ่งผู้ซื้อในประเทศญี่ปุ่นมักยกเป็นข้อตำหนิอยู่เสมอ จึงสนับสนุนค่าใช้จ่ายระหว่างพักในการดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๕-๘ กันยายน ๒๕๒๘ เป็นจำนวนเงิน ๑๕๐ เหรียญสหรัฐต่อคนต่อวัน
    • คณะกรรมการธิการเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎรได้ไปเจรจาธุรกิจ ณ ประเทศสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยม โซเวียต โปแลนด์ เยอรมัน ฮังการี เชโกสโลวะเกีย ออสเตรีย และยูโกสลาเวีย เพื่อเจรจาซื้อข้าวโพดไทยและสินค้าต่าง ๆ ระหว่างวันที่ ๑๗ สิงหาคม – ๒ กันยายน ๒๕๓๐ สมาคมฯ สนับสนุนในการเดินทางครั้งนี้เป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท
    • สมาคมฯ ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตรจัดทำการรณรงค์แก้ไขปัญหาแอฟลาทอกซินในข้าวโพด โดยตั้งกลุ่มปรับปรุงคุณภาพข้าวโพด เพื่อผลิตข้าวโพดคุณภาพดีโดยใช้สารเคมีคลุกเมล็ดข้าวโพดและเครื่องอบเคลื่อนที่ในท้องที่จังหวัด ๓ จังหวัด มีเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และจันทบุรี การดำเนินการดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่าย สมาคมฯ จึงให้ความอนุเคราะห์จำนวนเงิน ๑๙,๐๐๐ บาท ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑
    • นายกำจาย  เอี่ยมสุรีย์ ได้ร่วมชี้แจงแสดงความคิดเห็นเพื่อศึกษาผลดี ผลเสียของการจัดตั้งตลาดซื้อขายล่วงหน้าต่อเศรษฐกิจไทย เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดตั้งซื้อขายสินค้าล่วงหน้านำเอาสินค้าเกษตร ๕ ชนิดขึ้นมาพิจารณาคือ ข้าว ข้าวโพด ยาง น้ำตาลและมันสำปะหลัง เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๓

  

การแก้ไขปัญหา อุปสรรค และการประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการค้า

 

  • ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๗ คณะกรรมการสมาคมฯ ได้เรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญาจากพ่อค้าข้าวโพดขาเข้าของไต้หวัน ทำการส่งเรือมารับมอบข้าวโพดล่าช้าเกินควร ทำให้มวลสมาชิกส่งออกต้องเสียหาย ฝ่ายไต้หวันก็ยินดีชดใช้ตามที่เรียกร้องเป็นจำนวนเงิน ๑๖,๖๘๘,๖๔๕.๑๖ บาท
  • สมาคมฯ ได้ร่วมแก้ปัญหาเกี่ยวกับค่าบริการรมยาสินค้าเกษตร เพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชของกลุ่มบริษัทผู้ตรวจสอบ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖
  • การประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายข้าวโพดส่งมอบไต้หวันระหว่างผู้ส่งออก ๓ ราย และผู้ประกอบการไซโล ๑ ราย โดยการไกล่เกลี่ยยุติด้วยความเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๕๒๖
  • สมาชิกสมาคมฯ ร้องเรียนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากบริษัทไซโลอันเป็นคู่กรณีในการขอรับข้าวโพดที่ฝากไว้ลงเรือ ส่งมอบแก่ผู้ซื้อตามสัญญาคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจได้ไกล่เกลี่ยทำให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายเกิดความเข้าใจดีต่อกัน และสามารถตกลงกันได้ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖
  • สมาคมฯ ได้ร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตรได้เร่งแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับถั่วเขียวผิวดำส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น ที่มีเชื้อรา Macrophomina Phaseoli ในอัตราสูง และปรับปรุงการผลิตจนปรากฏว่าคุณภาพถั่วเขียวผิวดำที่ผลิตได้ในปี ๒๕๒๗/๒๕๒๘ เป็นที่ยอมรับของญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นซื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ปี พ.ศ. ๒๕๒๘

 การกุศลด้านสังคม และสาธารณประโยชน์

 

  • ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ สมาคมฯ ให้การสนับสนุนโครงการทำฝนหลวง เป็นโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน โดยถวายเงินให้ปีละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท เป็นประจำทุกปีเพื่อโครงการนี้ เพราะเล็งเห็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่ชาวนา ชาวไร่ ในยามที่ประสบภัยแห้งแล้ง จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๕๑๙ ในปีที่มีน้ำฝนอุดมสมบูรณ์จึงหันไปสนับสนุนให้ความอนุเคราะห์แก่สาธารณประโยชน์ทางด้านอื่น
  • ร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และกรมการค้าต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ ณ วัดศรีมงคล และวัดไทรย้อย จังหวัดพิษณุโลก จำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖
  • ร่วมบริจาคสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖
  • ร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีของ นายอบ  วสุรัตน์ อดีตประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างกุฏิวัดพรประสิทธิ์ แขวงออเงิน เขตบางเขน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๙ เป็นจำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
  • ร่วมทำบุญทอดกฐินพระราชทานของกระทรวงการต่างประเทศ ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๒๙ จำนวนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
  • บริจาคเงินสมทบทุนการกุศลของสมาคมภาคพื้นแปซิฟิค และเอเชียอาคเนย์แห่งประเทศไทย ใน  พระบรมราชินูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จำนวนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
  • สมาคมฯ ได้บริจาคเงินร่วมกับกระทรวงพาณิชย์โดยผ่านทางกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อทูลเกล้าถวาย เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ จำนวนเงิน ๒๒๐,๐๐๐ บาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
  • สมาคมฯ ซื้อดอกบัวจัดจำหน่ายโดยสมาคมแม่บ้านทหารบกจำนวน ๕,๐๐๐ ดอก รวมเป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
  • ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนสร้างอาคารอเนกประสงค์ในบริเวณสวนหลวง ร.๙ ซอย ๑๐๑ สุขุมวิท กรุงเทพฯ จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
  • สนับสนุนมูลนิธิเอเชียในโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนไทย-อเมริกัน โครงการนี้มุ่งเน้นคัดเลือกเยาวชนไทย จากพื้นที่กันดารเดินทางไปสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา ๒ เดือน ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนขององค์การยุวเกษตรกรแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อให้เยาวชนไทย จำนวน ๑๐ คน ที่จะได้รับคัดเลือกได้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตรในรูปแบบอเมริกัน เพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาเป็นผู้นำเกษตรกรในภูมิลำเนาของตนต่อไป จำนวนเงิน ๖๐,๐๐๐ บาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
  • สมาคมได้สนับสนุนให้สภาหอการค้าฯ หอการค้าไทย เพื่อซื้อเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ ไปแจกแก่เกษตรกรเป็นการด่วน เนื่องจากเกิดความเสียหายภาวะฝนแล้ง เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๓๐ เป็นจำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
  • เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบ สมาคมฯ ได้ให้การสนับสนุนกับสภาหอการค้าฯ ในการรณรงค์หารายได้โดยการเก็บเพิ่มค่าออกหนังสือรับรองมาตรฐานสินค้าข้าวโพดและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอีกเมตริกละ ๑๐ สตางค์ เป็นระยะเวลา ๑ ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๕ โดยรายได้จะนำทูลเกล้าถวายฯ ในนามสมาคมฯ เป็นจำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
  • บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมร่วมกับกรมการค้าภายใน จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ปี พ.ศ. ๒๕๓๘
  • บัตรงานฉลอง ๔๐ ปี สภาหอการค้าฯ ณ โรงแรมดุสิตธานี จำนวนเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท ปี พ.ศ. ๒๕๓๘
  • บริจาคร่วมสมทบทุนก่อสร้างอาคารศูนย์อุบัติเหตุโรงพยาบาลศิริราชเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ปีพ.ศ. ๒๕๔๒
  • บริจาคให้มูลนิธิเพื่อลูกจ้างคนไทย จำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ปีพ.ศ. ๒๕๔๔
  • ร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยผ่านสภาหอการค้าฯ จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕
  • บริจาคในการซื้อเตียงและเครื่องมือแพทย์ในโครงการศิริราชร้อยใจไทยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖
  • ร่วมบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบมหันตภัยจากคลื่นยักษ์ซึนามิที่เกิดขึ้นที่ภาคใต้ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ เพื่อใช้ในการเก็บศพ ผ้าห่อและหีบศพ จำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘
  • สมาคมฯ  นายก  กรรมการ  และเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพไถ่ชีวิตโค-กระบือ ในพิธีไถ่ชีวิตโค-กระบือ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐  จำนวน ๙ ตัว ๆ ละ ๑๔,๐๐๐ บาท เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ ณ ตึกติสสมหาเถระ วัดพระศรีมหาธาตุ วรวิหาร บางเขน กรุงเทพฯ
  • สมาคมฯ เป็นเจ้าภาพร่วมกับคณะกรรมการร่วม ๓ สถาบัน ภาคเอกชน (กกร.) มีสภาหอการค้าฯ  สภาอุตสาหกรรมฯ และสมาคมธนาคารไทย ได้จัดสร้าง “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เพื่อน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี จำนวน ๖๐ เครื่อง เป็นจำนวนเงิน ๑๕ ล้านบาท ในการนี้สมาคมฯ ได้ร่วมบริจาคจำนวน ๑ เครื่อง เป็นจำนวนเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท ในการนี้ น.ส.สุนันท์  สิงห์สมบุญ นายกสมาคมฯ ได้ร่วมเข้าเฝ้าถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันพุธที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
  • สมาคมฯ ให้การสนับสนุนการจัดทำหนังสือ “เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์” ของคณะกรรมการนักธุรกิจสตรี หอการค้าไทย เพื่อถวายความจงรักภักดีและชื่นชมในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา จำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ธันวาคม ๒๕๕๐

  

กิจกรรมทั่วไป

 

  • การให้บริการด้านข้อมูลและข่าวสารแก่สมาชิก
    • เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติการส่งออก และสถิติพืชไร่รายเดือนแจกจ่ายแก่สมาชิก
    • การให้บริการออกหนังสือรับรองสมาชิกภาพ

 

สมาคมฯ ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิก เพื่อประกอบการพิจารณาของสำนักงานมาตรฐานสินค้า (โดยมิได้คิดมูลค่าแต่ประการใด)

 

  • จัดพิมพ์วารสารสมาคมฯ ราย ๓ เดือน แจกจ่ายแก่บรรดาสมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ และปีถัดมาได้ปรับปรุง ขยายงานข้อมูล และสถิติต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและละเอียดยิ่งขึ้นทั้งในระดับประเทศ ต่างประเทศ และระดับโลก ทั้งนี้เพื่อให้บริการและเพิ่มพูนประโยชน์แก่สมาชิก นอกจากนั้นสำหรับข้าวโพด ข้าวฟ่าง และพืชไร่อื่นบางชนิดได้เก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณส่งออกและราคาเป็นรายวัน เพื่อให้บริการแก่บรรดาสมาชิกให้ทราบโดยรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
  • จัดทำหนังสือรายงานประจำปีของคณะกรรมการ แจกให้กับสมาชิกก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี
  • จัดทำไดอารี่ประจำปีทุกปี แจกจ่ายแก่บรรดาสมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • การรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาแอฟลาทอกซินในข้าวโพด

                                 สมาคมฯ โดยคุณวุฒิเทพ  นันทภิวัฒน์ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ เป็นประธานอนุกรรมการ ได้ดำเนินงานด้านนี้ โดยร่วมมือและประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยเผยแพร่ความรู้ให้แก่เกษตรและผู้ค้าท้องถิ่นโดยทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จัดพิมพ์โปสเตอร์แนะนำวิธีการป้องกันมิให้ข้าวโพดเกิดเชื้อราอันก่อให้เกิดสารพิษแอฟลาทอกซินไปเผยแพร่ในแหล่งเพาะปลูกข้าวโพดที่สำคัญ ๆ จัดทำภาพยนตร์เรื่อง “เชื้อราตัดราคาข้าวโพด” เพื่อแนะนำวิธีการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยว การรักษาตลอดจนการขนส่งข้าวโพดที่ถูกต้อง แล้วมอบให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการฉายเผยแพร่ให้เกษตรกรและผู้ค้าท้องถิ่น สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๒๘ สมาคมฯ ได้เร่งดำเนินงานด้านนี้โดยจัดสรรงบประมาณให้ในระดับสูงถึง ๑ ล้านบาท เพื่อสนับสนุนทางการเงินแก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ทำการทดลองเชิงเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันและกำจัดแอฟลาทอกซินในข้าวโพด ให้กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรรณรงค์จัดทำสปอตวิทยุกระจายเสียง ทำสปอตโทรทัศน์และวีดีโอเทปเผยแพร่ทางโทรทัศน์ พิมพ์โปสเตอร์รณรงค์อีก ๕๐,๐๐๐ แผ่น เผยแพร่แก่เกษตรกรและผู้ค้าท้องถิ่นแหล่งผลิตที่สำคัญ ๆ ร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตรจัดให้มีการประชุมสัมมนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำอำเภอ และตำบล รวมทั้งผู้รวบรวมผลผลิตข้าวโพด เพื่อชี้แจงรณรงค์ป้องกันแอฟลาทอกซิน ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้ความรู้กับลูกค้าของธนาคาร โดยสมาคมฯ จัดส่งวีดีโอเทปและโปสเตอร์ไปให้ ประชุมร่วมกับผู้แทนไซโล เพื่อพิจารณาเรื่องการกำหนดความชื้น จากการดำเนินงานอย่างจริงจังของสมาคมฯ โดยให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดแก่ทางราชการในการแก้ปัญหาแอฟลาทอกซินในข้าวโพดดังกล่าว ปรากฏว่าข้าวโพดที่ผลิตได้ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘/๒๕๒๙ มีคุณภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ผู้ซื้อในต่างประเทศพอใจในคุณภาพข้าวโพดไทยที่ส่งไปให้ ทำให้ประเทศผู้ซื้อที่สำคัญหันมาซื้อข้าวโพดจากไทยในปริมาณมากขึ้น

 

  • สมาคมฯ ได้ร่วมกับกรมการค้าต่างประเทศและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทำการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวโพดในต่างจังหวัด เพื่อนำผลสำรวจแต่ละครั้งได้จัดพิมพ์และแจกจ่ายแก่บรรดาสมาชิกเพื่อทราบ และประกอบการพิจารณาในการค้าข้าวโพด
  • สมาคมฯ ได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทำการสำรวจเนื้อที่เพาะปลูก และผลผลิต (พ.ศ. ๒๕๒๗) เป็นครั้งแรกที่ได้เข้าร่วมกับหน่วยราชการ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๑
  • พฤศจิกายน ๒๕๒๗ เป็นครั้งแรกที่สมาคมฯ ได้เข้าไปร่วมกับหน่วยราชการสำรวจถั่วเขียว ถั่วเขียวผิวดำ และสมาคมฯ ได้จัดพิมพ์ผลการสำรวจแจกให้แก่สมาชิก
  • สมาคมฯ ได้จัดพิธีถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ณ สำนักงานสมาคมพ่อค้าข้าวโพดและพืชพันธุ์ไทย เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙
  • สมาคมฯ โดย น.ส.สุนันท์  สิงห์สมบุญ นายกสมาคมฯ นำคณะกรรมการสมาคมฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ศึกษาดูงาน เยี่ยมชมสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๙ ก่อนสนามบินเปิดใช้อย่างเป็นทางการ
  • สมาคมฯ จัดงานเฉลิมฉลองในโอกาสที่สมาคมฯ ครบรอบก่อตั้ง ๕๐ ปี วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์
  • สมาคมฯ โดย คุณมนต์ชัย ศรีชัยยงพาณิช นายกสมาคมฯ นำคณะกรรมการสมาคมฯ และคณะอนุกรรมการสำรวจผลผลิตข้าวโพดและพืชไร่ ไปสำรวจข้าวโพด ที่ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ ๔ - ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕
  • สมาคมฯ โดย คุณมนต์ชัย ศรีชัยยงพาณิช นายกสมาคมฯ ได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสถานการณ์การค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ กับคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคณะที่สมาคม เมื่อวันที่ ๑๖  ตุลาคม ๒๕๕๕
  • สมาคมฯ โดย คุณมนต์ชัย ศรีชัยยงพาณิช นายกสมาคมฯ ได้จัดให้มีการสำรวจผลผลิตข้าวโพด จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๗ - ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
  • สมาคมฯ โดย คุณสมชาย ศรีจิรารัตน์ นายกสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯ ได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูล กับ MR. NEIL GRIMWOOD และคณะที่สมาคม เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๖
  • สมาคมฯ โดย คุณสมชาย ศรีจิรารัตน์ นายกสมาคมฯ ได้จัดให้มีการสำรวจผลผลิตข้าวโพดที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ ๑๗ - ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖
  • สมาคมฯ โดยคุณสมชาย ศรีจิรารัตน์ นายกสมาคมฯ นำคณะกรรมการสมาคมฯ เข้าเยี่ยมชม HANIL ENTERPRISE (โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ถั่ว) โดยมี MR. LEE MYUNG YEOP PRESIDENT และคณะให้การต้อนรับ ณ ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖
  • สมาคมฯ โดย คุณสมชาย ศรีจิรารัตน์ นายกสมาคมฯ นำคณะกรรมการสมาคมฯ เดินทางไปยังสถานทูตไทย ประเทศมาเลเซีย โดยมีคุณกฤต ไกรจิตติ เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย และคุณวิชาดา ภาบรรเจิดกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สคร.) หรือทูตพาณิชย์ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลกับสมาคม จากนั้นเยี่ยมชมท่าเรือ NORTHPORT  และได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตอาหารสัตว์พร้อมกับพบปะพ่อค้านำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ เมืองมะละกา เมื่อวันที่ ๑๙ – ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗
  • สมาคมฯ โดย คุณสมชาย ศรีจิรารัตน์ นายกสมาคมฯ นำคณะกรรมการสมาคมฯ เข้าเยี่ยมชมพืชผลทางการเกษตร ที่ ฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๕ – ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
  • สมาคมฯ โดยคุณสมเกียรติ พันธ์จิตวุฒิชัย อุปนายกสมาคมฯ นำคณะกรรมการการสมาคมฯ เข้าร่วมสัมมนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่ มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน วันที่ ๒๑ - ๒๒ กันยายน ๒๕๕๗
  • สมาคมฯ โดยคุณสมเกียรติ พันธ์จิตวุฒิชัย อุปนายกสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯ ได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อร่วมมือกันในการปรับปรุงตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าของไทย กับคุณวิวัฒน์ ตีระวนิชพงศ์ กรรมการและผู้จัดการ และคุณอัชพร สินเจริญมณี เจ้าหน้าที่อาวุโส จากตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๗
  • สมาคมฯ โดย คุณสมชาย ศรีจิรารัตน์ นายกสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯ ได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เศษพืชที่เหลือทิ้งจากขั้นตอนการผลิต นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่า “Bio-coke” กับบริษัท โอซาก้า แก๊ส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) ร่วมกับ บริษัท เลเวล ไฟว์ จำกัด เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

 

 

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ราคา/กก.
ซีพีบางนา 10.85 บาท
ซีพีศรีราชา

10.90 บาท

ซีพีราชบุรี 10.80 บาท
ซีพีท่าเรือ 10.60 บาท
ซีพีโคราช 10.60 บาท
กรุงไทยอาหาร (พระประแดง) 10.45 บาท
กรุงไทยอาหาร (บ้านบึง) 10.65 บาท
เบทาโกร 10.65 บาท
เซ็นทาโก 10.25 บาท
แหลมทองสหการ 10.70 บาท

 

สินค้าเกษตร ราคา/กก. F.O.B/ตัน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 10.85 326
ถั่วเขียวผิวมัน(ชั้น1) 34

1046

ถั่วเขียวผิวมัน(ชั้น2) 29 896
ถั่วเขียวผิวดำ(ชั้น1) 51

1557

ถั่วเขียวผิวดำ(ชั้น2) 38 1166
ถั่วนิ้วนางแดง 30 920

ผู้สนับสนุน / Banner

Main Sponsor Our sites